Support
เกษตรอินทรีย์-นาโน
Tel.
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ไนโตรเจน ในรูปที่พืชต้องการ

dr_chal2003@yahoo.com | 12-01-2556 | เปิดดู 1275 | ความคิดเห็น 0

 

                                          อินทรีย์สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

 

1. โปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acid) ชนิดต่างๆ เรียงต่อกันอย่างมีแบบแผน ตั้งแต่ 50-100
หน่วย โดยกรดอะมิโนเชื่อมต่อด้วยพันธะเปบไทด์ (peptide bond) โดยโปรตีนมีหน้าที่สำคัญในเซลล์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของไซโตพลาสซึม (cytoplasm) เยื่อต่าง (membranes) โดยเป็นทั้งโครงสร้างและพาหะในการเคลื่อนย้ายสารผ่านเยื่อ รวมทั้งเอนไซม์ ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฎิกิริยาชีวเคมี จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม (metabolism)

2. คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เป็นสารประกอบที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโครงสร้าง พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืชโดยพบมากที่ใบ คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำไปใช้สร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ในธรรมชาติมีคลอโรฟิลล์อยู่หลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ เอ (สูตรโมเลกุล C55H72O5N4Mg) และคลอโรฟิลล์ บี (สูตรโมเลกุลC55H70O6N4Mg)

3. ฮอร์โมนพืช (phytohormone) เป็นสารที่เกิดจากพืชสร้างขึ้น และมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ออกซิน (auxins) และโซโตไคนิน (cytokinins) โดยที่ indole-3-acetic acid (IAA) เป็นออกซินที่พืชสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนทริพโทเฟน (typtophane) ซึ่ง IAA มีบทบาท
สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ กระตุ้นการแบ่เซลล์ เร่งการขยายขนาดของเซลล์ ควบคุมการแตกราก ยับยั้งการเจริญของตาข้าง ป้องกันการร่วงของใบ กิ่งและผล ส่วนโซโตไคนินเป็นฮอร์โมนพืชที่ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ การขยายขนาดเซลล์ ส่งเสริมการสร้างและการเจริญของตา ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการสร้างโปรตีน ชะลอความเสื่อมอายุของใบ (senescence) และช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร

4. กรดนิวคลีอิค (nucleic acids) มี 2 ชนิด คือ ribonucleic acid (RNA) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และ deoxyribo nucleic acid (DNA) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลทางพันธุกรรม


5. สารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ ได้แก่ adenosine triphosphate (ATP) co-enzymes เช่น 
NAD
(nicotinamide adenine dinucleotide) และ NADP (nicotinamide adenine dinucleotide 
phosphate)

6. สารประกอบไนโตรเจนที่พืชสะสมไว้หรือทำหน้าที่ป้องกัน เช่น แอลคาลอยด์ (alkaloids) ได้แก่ นิโคติน (nicotine) จากใบยาสูบ และมอร์ฟีน (morphine) จากฝิ่น เป็นต้น

 
 
 
--------------------------------------------------------------
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

งานวิจัยที่ดี อาจจะไม่ต้องทำกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เราสามารถตั้งคำมและตอบโจทย์ได้

นักวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล โนเบล ใช้เอนไซม์ในการเพิ่มจำนวนดีเอนเอ ในการทำ ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านชีวโมเลกุลพันธุศาสตร์อย่างมาก  
PCR (ปฎิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์ )
 

การทดลองโดยสกัดเอนไซม์จากแบคทีเรียน้ำพุร้อน วิธีการก็ไม่ได้ยุ่งยาก แล้วไปทำการเพิ่มจำนวนดีเอนเอแบบทวีคูณ โดยไปต้มในน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่างๆกัน  เพื่อให้เอนไซม์ทำงานเพิ่มจำนวนดีเอนเอ... 
 
 

ความคิดเห็น

วันที่: Tue May 07 04:28:10 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0